ข้อควรระวังสำหรับงานชุบกัลวาไนซ์
โดยทั่วไปงานเหล็กจะเป็นงานที่ออกแบบและทำการเชื่อม ตกแต่งผิวก่อนชุบกัลวาไนซ์ (Hot-dipped Galvanized ) โดยงานทั่วไปแบ่งได้ตามประเภทโครงสร้างดังนี้
1 ) งานที่เป็นโครงสร้าง ขนาดใหญ่ มีส่วนประกอบจากการดัดท่อใช้ท่อเป็นหลัก เชื่อมประกอบขนาดใหญ่
2 )งานที่ไม่มีท่อเป็นองค์ประกอบแต่ใช้เหล็กรูปพรรณอื่นๆ
3) งานที่ใช้ทั้งท่อและเหล็กรูปพรรณประกอบกัน
4) งานเหล็กหล่อ
5) งานจำพวก สกรู น็อต งานขนาดเล็ก
งานทุกประเภทต้องมีการตกแต่งผิวให้ดีก่อนนำมาชุบกัลวาไนซ์ หากติดสีมาต้องมีการเผาสีหรือขจัดออกก่อนล้างผิวสำหรับเตรียมชุบกัลวาไนซ์ กรณีที่นำงานมาRe-galvanize หรือล้างกัลวาไนซ์เดิมออก จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม หากผู้ที่ต้องการชุบต้องการลดค่าใช้จ่ายจากกรณีที่กล่าวมาอาจจะนำไปยิงทรายเพื่อให้สีหรือกัลวาไนซ์เดิมออกก่อนจะประหยัดกว่างานที่มี Pipe หรือท่อเป็นองค์ประกอบต้องมีการเจาะรูเพื่อให้น้ำกัลวาไนซ์ไหลเข้าออกได้ และป้องกันการแตก ระเบิดของชิ้นงานส่งผลให้งานเสียหายและเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน
กรณีที่ลูกค้ามีการเชื่อมเหล็กต้องระวังเรื่องตามดและขี้Slag ที่ชิ้นงานจะทำให้ชุบกัลวาไนซ์ไม่ติด ในส่วนของตามดมีผลให้ชิ้นงานมีคราบสนิมออกมาจากรูตามดได้หากรูมีขนาดใหญ่และลึก เนื่องจากกัลวาไนซ์ไม่สามารถเข้าไปในรูได้ สนิมจึงเกิดตามมาหลังการชุบภายใน 1 สับดาห์งานจำพวกน็อต สกรู ต้องมีค่าเผื่อ เพราะหลังการชุบกัลป์วาไนซ์ผิวงานจะหนาขึ้น หากไม่มีการเผื่อค่า น็อตตัวเมียจะขันไม่เข้าต้องตรวจสอบขนาดบ่อชุบกับชิ้นงานที่จะชุบหากลงบ่อชุบภายใน 1 ครั้งไม่ได้ จำเป็นจะต้องชุบ 2 ครั้งส่งผลให้ราคาจะสูงขึ้นมาก
การละเมิดลิขสิทธิ์มีโทษทางอาญา ห้ามคัดลอก ทำสำเนา ดัดแปลง และเผยแพร่ เนื้อหาทั้งหมดหรือบางส่วน โดยไม่ได้รับอนุญาต